ปัจจุบันมองไปทางไหนก็มีคนผลิต Content ออกมาเต็มไปหมด ทั้งยังสามารถเผยแพร่ออกจากสื่อที่หลากหลายในช่องทางไหนก็ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเรากำลังอยู่ในยุคที่ Content เป็นกระแสหลักสุดๆ ซึ่งเนื้อหา Content เหล่านั้นก็อาจปะปนไปด้วยข่าวปลอมหรือเนื้อหา Content ที่ไม่เป็นความจริง

Facebook จึงต้องมีการออกกฎมาเพื่อควบคุมอันตรายจาก Content ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากทางร่างกายหรือทางจิตใจก็ตาม ซึ่งก็มี Content อยู่ทั้งหมด 5 ประเภทด้วยกัน ที่ Facebook จะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้เห็น ดังนี้

  • Content ที่เป็นภัยต่อความปลอดภัย

ประกอบไปด้วย Content ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง, Content ที่มีการล่อลวงทางเพศ, Content ที่แสดงถึงการทำร้ายตัวเอง, Content เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอลและสารเสพติด

ดังนั้น แบรนด์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลจึงต้องเพิ่มความระวังให้มากขึ้น และควรออกแบบและตรวจสอบ Content ให้รอบคอบด้วยว่า Content ที่ตนสร้างจะไม่มีส่วนไหนไปเข้าข่ายการผิดกฎของ Facebook

  • Content ที่อ่อนไหวต่อสุขภาพและการเงิน

ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน Facebook จึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่ง Content ที่ถูกปรับลดการมองเห็นก็จะประกอบไปด้วย Content ที่มีการพูดถึงขั้นตอนการผลิตเครื่องสำอาง, Content ที่มีการโฆษณา อวดอ้างสรรพคุณของยาหรืออาหารแบบเกินจริงอย่างอาหารเสริม ยาลดน้ำหนัก ยาบำรุงต่างๆ, Content ที่ชักนำให้ผู้คนลงทุนหรือกู้ยืมเงินในทางที่ผิด

  • Content Clickbait หรือ Content ที่มีการพาดหัวข่าวที่ล่อตาล่อใจ

เป็น Content ประเภทที่พาดหัวข่าวแบบล่อตาล่อใจซะดิบดี ชวนให้ผู้ใช้งานอยากคลิกเข้าไปอ่านต่อ แต่เนื้อหาที่อยู่ภายในกลับไม่ตรงกับหัวข้อที่กล่าวถึง หรือบางทียังมีการลิงก์ข่าวไปสู่เว็บไซต์ที่เป็นภัยต่อผู้ใช้งานอีกด้วย

นอกจากนี้ Content ประเภทการประกวดหรือแจกของฟรีก็ยังถูกจัดเป็น Content ที่ Facebook จะไม่นำขึ้นที่หน้าของผู้ใช้งานให้ผู้อื่นเห็นด้วยเช่นกัน

  • Content คุณภาพต่ำ

ประกอบไปด้วยคุณภาพของเนื้อหา รูป วิดีโอ ที่มีคุณภาพและความละเอียดต่ำ รวมไปถึง Content ที่มีการลิงก์ออกไปสู่เว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยโฆษณา และชื่อโดเมนแปลกๆ อีกด้วย นอกจากนี้ Content ที่มีการขโมยเนื้อหาของผู้อื่นมาทั้งหมดแบบ 100% ก็ถือว่าละเมิดสิทธิ์และจะถูก Facebook ปรับลดการมองเห็นด้วยเช่นกัน

  • Content ที่ชี้นำความคิดไปในทางที่ผิด

Content ประเภทที่สร้างขึ้นมาเพื่อชี้ชวน ชักนำ และสนับสนุนให้ผู้ใช้งานทำสิ่งผิดกฎหมาย ด้วยเนื้อหา Content ที่มีการหลอกลวง มีการใส่เรื่องที่ไม่เป็นความจริงเข้ามา ซึ่ง Content ประเภทนี้ นอกจากจะไม่ถูกนำขึ้นมาแสดงบนหน้า Facebook แล้ว ยังถูกตักเตือนและลดการมองเห็นเพิ่มขึ้นด้วย

เนื่องจากใครๆ ก็สามารถสร้างสื่อ Content ลงตามช่องทางไหนก็ได้ง่ายๆ แบบนี้ อีกทั้งการเผยแพร่ยังเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า จึงไม่แปลกที่จะมีผู้ไม่หวังดี คิดทำ Content Marketing ในแบบ 5 ประเภทที่กล่าวไปข้างต้นขึ้นมา ทั้งไม่ว่าจะเพื่อผลประโยชน์หรือด้วยความต้องการใดๆ ก็ตาม

นี่จึงไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของ Facebook เพียงฝ่ายเดียว เพราะ Facebook เองก็อาจจะกรองได้ไม่หมด และอาจมี Content ผิดกฎที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงกฎต่างๆ ไปได้บ้าง เราทุกคนจึงควรช่วยกันสอดส่องระวังภัย เพื่อให้ตามสื่อต่างๆ มีแต่ Content ที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกคน

วิดีโอ content กับเทรนด์ผู้บริโภค