เคยสงสัยไหมคะ ว่าถ้าวันหนึ่ง facebook เกิดอัปเดตแพลตฟอร์มโดยการเอาปุ่มไลก์ออกไปแล้ว การวัดผลผ่านยอดไลก์จะเป็นอย่างไร ยังมีวิธีไหนที่จะสามารถวัดผลได้ว่าคอนเทนต์ที่ทำการ promote facebook ไปนั้นมีประสิทธิภาพมากพอ

ในบทความนี้เราจึงทำการรวบรวมเครื่องมือที่จะสามารถนำไปวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ให้ออกมาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายด้วยฟีเจอร์ facebook insights ซึ่งทาง facebook ก็ได้มีการพัฒนาการทำงานของฟีเจอร์นี้เพิ่มเติมขึ้นมาด้วย รายละเอียดจะมีอะไรบ้าง มาอัปเดตผ่านบทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

  • Overview

เป็นส่วนที่แสดงสถิติภาพรวมที่สำคัญของเพจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง Page likes, Post Reach, Engagement และยังมีข้อมูลผลลัพธ์ต่างๆ ที่ promote facebook ไปในโพสต์ล่าสุดที่มีรายละเอียดประกอบไปด้วย Targeting (ที่ระบุกลุ่มเป้าหมาย), Reach (จำนวนผู้เข้าชมเพจแบบ 1 ต่อ 1), Engagement (การมีส่วนร่วมกับโพสต์)

  • Like Page

เป็นการเลือกดูข้อมูลของช่วงสัปดาห์ เดือน หรือปีเพื่อดูว่าเพจของคุณมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นในช่วงไหน จำนวนเท่าไรบ้าง นอกจากนี้ยังสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมว่าในแต่ละวันมีคนกดเลิกติดตามเพจไปเท่าใด ทั้งแบบออร์แกนิกและแบบเสียเงิน promote facebook

  • Reach

เป็นการเข้าถึงข้อมูลหน้าเพจที่ทำให้เราเห็นภาพรวมของโพสต์ promote facebook ที่แสดงการกระทำเชิงบวก เช่น การไลก์ คอมเมนต์ แชร์ และการกระทำเชิงลบ เช่น จำนวนครั้งที่โพสต์ถูกซ่อน, การถูกรายงานว่าเป็นสแปม, การกดเลิกถูกใจเพจ และยังมีในส่วนของ Total Reach ที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเพจ ด้วยการรายงานผลคอนเทนต์แยกเป็นแบบออร์แกนิกและแบบเสียเงิน ทำให้เห็นถึงข้อมูลที่แน่ชัดว่าผลลัพธ์ที่ได้ประสิทธิภาพนั้นมาจากช่องทางใด

  • Engagement

เป็นการวัดจำนวนจากการตอบโต้ทางโพสต์ เช่น จำนวนคนที่มองเห็นโพสต์, ยอดคลิก, ยอดไลก์, ยอดคอมเมนต์ และยอดแชร์ เป็นต้น ซึ่งการวัดผลในลักษณะนี้ จะมีความสำคัญในการพิจารณาและตัดสินใจว่าควรสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในลักษณะใด

  • Visit

เป็นส่วนที่ทำให้เราเห็นว่าผู้ใช้งานนิยมเข้าไปดูส่วนไหนของเพจมากที่สุด เช่น หน้าไทม์ไลน์, รูปภาพ หรือข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น และยังสามารถดูเรื่องที่เฉพาะเจาะจงอย่างการ Mention หรือเช็คอินได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถดูข้อมูลที่ลึกลงไปถึงจำนวนครั้งที่คนเข้ามาดูเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ ได้ด้วย ทำให้เราทราบว่าคอนเทนต์ไหนเป็นที่นิยม และควร promote facebook ผ่านเว็บไซต์ไหนถึงจะได้ประสิทธิภาพมากสุดนั่นเอง

  • Post

เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าผู้ติดตามเพจมีการออนไลน์ในช่วงไหนบ้าง และคอนเทนต์ประเภทไหนที่โพสต์ลงไปแล้วมียอดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกช่วงเวลาลงคอนเทนต์เพื่อเพิ่มโอกาสในการมองเห็นที่มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถเช็คได้ด้วยว่าคนที่เห็นโพสต์ของเพจนั้นเป็นผู้ที่ติดตามอยู่แล้ว หรือเป็นคนที่ไม่ได้ติดตามเพจ

  • People

เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ที่ติดตามเพจ, ผู้คนที่เข้าถึงเพจ และจำนวนผู้มีส่วนร่วมกับเพจว่ามีสัดส่วนของเพศเป็นอย่างไร อายุเท่าไร และอาศัยอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง ถือเป็นตัวช่วยที่จะนำมาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วทำแผนกลยุทธ์ให้อยู่ในทิศทางที่เหมาะสมได้มากที่สุด

  • Pages to Watch

เป็นหน้าที่เอาไว้ติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งโดยการระบุเพจที่มีความคล้ายคลึงกับเพจของเรา เพื่อดูว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น และเกิดการมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง ทำให้เราสามารถนำมาเปรียบเทียบและปรับปรุงคอนเทนต์ในเพจให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย

  • Google Analytics

เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เราเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Traffic ของการ promote facebook มีผลต่อเว็บไซต์อย่างไร ทั้งในเรื่องของทิศทางและการวิเคราะห์การตลาดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

สิ่งที่ใช้วัดการประสบความสำเร็จของการทำ promote facebook ไม่ได้วัดจากยอดไลก์ คอมเมนต์ แชร์เพียงเท่านั้น แต่เรายังสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลการเข้าถึง และการมีส่วนร่วมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเพจได้ด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่แน่ชัดแล้ว ยังสามารถนำรายละเอียดข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดเพื่อวิเคราะห์แคมเปญต่อๆ ไปให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย

 

เริ่มต้นธุรกิจ promote สินค้า อย่างไรให้ปัง